อุปนิสัยทางจิตวิทยา 7 ประการ ที่เราควรมี (7 Psychological Habits)

อุปนิสัยเกิดจากปัจจัยหลายประการหนึ่งในนั้นที่สำคัญคือ ทัศนคติ มุมมองหรือการมีกรอบความคิดต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางด้านชีววิทยา สังคม จริยธรรม ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อม ดังนั้น สิ่งแรกเราต้องมั่นใจว่าเรามีกรอบความคิดที่ดี ที่ถูกต้อง ไม่มีอคติต่อสิ่งใด โดยเกิดจากการพัฒนา กรอบคิดเติบโต (Growth Mindset) ซึ่งจะไม่ยึดติดอยู่กับผลลัพธ์ และเชื่อว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรก็จะสามารถพัฒนาได้เสมอ

โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับความเข้าใจกับนิสัยที่ดีทั้ง 7 ประการ จากหนังสือ “7 Habits for Highly Effective People”  หรือ “7 อุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง” เขียนโดย สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์ ซึ่งผู้เขียนเองได้ทำการประยุกต์โดยใช้หลักการทางจิตวิทยาเพื่อให้เกิดอุปนิสัยทางจิตวิทยาที่ดีทั้ง 7 ประการซึ่งประกอบด้วย

  1. มีความหวัง (Hope)

          เป็นการมองอนาคตที่เป็นไปได้ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ เพื่อจะนำพาตนเองให้มีพลังในการขับเคลื่อนในการนำพาตนเองรวมถึงผู้อื่นให้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างที่คาดหวัง

  1. การตั้งเป้าด้วยตนเอง (Self-Directed)

          เป็นคนที่พร้อมที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองโดยการวิเคราะห์ว่าจะสามารถพัฒนาได้ในจุดไหน เพิ่มเติมในจุดใด โดยเกิดจากการสังเกต อยากรู้อยากเห็นในการพัฒนาตนเอง โดยจะมีการวางแผนในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

  1. การบริหารจัดการตัวเอง (Self-Management)

          เกิดจากการสร้างกระบวนการทักษะทางการคิดแก้ปัญหา ทักษะการจัดการวางแผนจัดการกับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเรื่อง ร่างกาย จิตใจและสังคม เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาให้เหมาะสม

  1. ความร่วมมือ (Collaboration)

          คือความร่วมมือกันในการปฏิบัติภาระกิจเพื่อให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้อื่นสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อก้าวสู่เป้าหมายหลักร่วมกันทั้งของตนเองและขององค์กร เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกับผู้อื่น

  1. การเข้าใจซึ่งกันและกัน (Empathy)

           เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้มีทัศนคติที่ดีเนื่องจากเป็นความสามารถในการเข้าใจมุมมองของผู้อื่น ช่วยให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ความเชื่อใจ จะช่วยให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 

  1. การเสริมพลัง (Empowerment)

          ช่วยให้ตระหนักในพลังความเข้มแข็งและความใฝ่ฝันความมุ่งหวังของตนเอง ตลอดจนมุ่งมั่นไม่ลดละที่จะทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมกับการเพิ่มพลังให้กับสังคม และสร้างความตระหนักถึงความเท่าเทียมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา ทำให้สามารถควบคุมจุดมุ่งหมายของตนเองได้

  1. การฝึกฝนตนเอง (Self-Regulation)

เป็นรูปแบบการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของตนเองเพื่อที่จะสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามในการปรับเปลี่ยนการตอบสนองของตนเองเพื่อนำไปสู่ทางเลือกในการตอบสนองในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้เกิดคุณค่าแก่ตัวเอง

Credit : ดร.ประจักษ์จินต์ โสภณพนิชกุล

IMPRESSION GROUP

Call Center – TEL.081-988-9979

TRAINING – TEL. 02-9217921 , 085-502-7921 , 090-952-0441

CONSULT / SURVEY / AUDIT – TEL. 081-104-8424