โครงการจัดทำนโยบาย คู่มือการปฏิบัติงาน แผนแม่บท ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR)

โครงการจัดทำนโยบาย คู่มือการปฏิบัติงาน แผนแม่บท ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR)

1. หลักการและเหตุผล

     ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง กำหนดให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเข้าระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM)โดยการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Enablers) ด้านที่ 1 การกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (Corporate Governance & Leadership: CG & Leadership )ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance)

  • เกณฑ์ข้อ 1.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น
  • เกณฑ์ข้อ 2.1 การกำหนดนโยบายและการแข่งขันทางการตลาดที่เป็นธรรม
  • เกณฑ์ข้อ 3.1 การบริหารสิทธิของผู้ถือหุ้นทั้งตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  • เกณฑ์ข้อ 6.6 การเสริมสร้างการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
 
โดยกำหนดให้มีการทบทวนและกำหนดนโยบาย และคู่มือการกำกับดูแลที่ดีอย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์ข้อต่างๆ มีการกำหนดแผนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีระยะยาวและแผนการดำเนินงานประจำปีที่มีคุณภาพและสาระครบถ้วนตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน ตามกรอบหลักการ OECD และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และตามมาตรฐานการประเมินตามระบบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ

ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (Corporate Social Responsibility in Process: CSR in Process)

เพื่อการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

     คู่มือการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย โครงสร้างผู้รับผิดชอบ ระบบการบริหารจัดการ ระบบการส่งเสริมการดำเนินงาน ระบบติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารระดับสูงคณะกรรมการและ/หรือคณะอนุกรรมการ รวมถึงแนวปฏิบัติด้านบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามหลักเกณฑ์

     การทบทวนและจัดทำแผนแม่บทระยะยาวด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ CSR in Process มีองค์ประกอบและสาระสำคัญสอดคล้องตามหลักการหรือมาตรฐาน CSR in Process ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น มาตรฐาน ISO 26000 ได้แก่ ทิศทางระยะยาววัตถุประสงค์ นโยบาย/เป้าประสงค์ ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) ยุทธศาสตร์ เป้าหมายหลักรายละเอียดการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน ความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายระยะยาวกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งและพันธกิจ

แผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ
CSR in Process ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน ระยะเวลา งบประมาณค่าใช้จ่าย
หรือเงินลงทุน ผู้รับผิดชอบ ตัวชี้วัด และเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ

2. วัตถุประสงค์

     เพื่อให้มีนโยบาย คู่มือการปฏิบัติงาน แผนแม่บทระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (Corporate Social Responsibility in Process: CSR in Process) เพื่อการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีองค์ประกอบสาระสำคัญที่มีคุณภาพและครบถ้วนตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้แก่ กรอบหลักการ OECD มาตรฐาน ISO 26000 และมาตรฐานการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการตามระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ของ สคร.

3. แนวทางการศึกษาวิจัย ขอบเขตพื้นที่ดำเนินการและประเด็นการศึกษา

  1. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์หลักการ มาตรฐาน และหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
  2. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ ของ เช่น วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ตามแผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 แผนยุทธศาสตร์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระยะยาว
  3. ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมกับฝ่ายงานภายใน
  4. จัดทำนโยบาย และคู่มือการปฏิบัติงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ
  5. ศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยภายในภายนอก จุดแข็ง จุดอ่อน และกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ
  6. จัดทำแผนแม่บทระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  7. และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ