แหล่งท่องเที่ยวยุค Digital Nomad ควรมีอะไรบ้าง

ในยุค Digital Nomad การเตรียมความพร้อมในด้านท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเดินทางกลุ่ม Digital Nomad นั้นสำคัญอย่างมาก เนื่องจากวิถีการเดินทางแบบนี้ต้องการการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารระยะไกลอย่างมาก และสิ่งที่เป็นความจำเป็นสำหรับการท่องเที่ยวในยุคนี้คือการมีความยืดหยุ่นในการทำงานและเลือกสถานที่ที่สามารถทำงานได้ดี

ในบทความนี้เราจะพูดถึงปัจจัยอะไรบ้างที่จะดึงดูดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว (Pull factors) ซึ่งองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว 7 ด้าน ประกอบด้วย

  1. สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) เป็นสิ่งที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว ณ สถานที่นั้นซึ่งแหล่งท่องเที่ยวสามารถแบ่งแยกเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา หาดทราย ชายหาด ภูเขา อุทยานแห่งชาติ เทศกาลต่างๆ หรือสถานที่มีเอกลักษณ์และโด่งดัง โดยทั่วไปแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมักจะมีสิ่งดึงดูดใจมากกว่า 1 อย่าง เช่น ภูเก็ตมีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเช่น หาดทราย กิจกรรมทางน้ำ สถานบันเทิง รวมทั้งวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ

  2. การเข้าถึง (Accessibility) ความสะดวกสบายทำให้นักท่องเที่ยวหรือคนเดินทางเข้าไปถึงสถานที่ได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แหล่งท่องเที่ยวต้องมีระบบขนส่งซึ่งประกอบด้วย เส้นทาง พาหนะ สถานที่ และประกอบการขนส่งในการลำเลียงคนและสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทาง

  3. สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่อนักท่องเที่ยว เช่น น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์ ห้องสุขา และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นต้องใช้ เช่น โรงพยาบาล ธนาคาร ไปรษณีย์หรือบริษัทรับขนส่งสินค้า เป็นต้น

  Digital Nomad จะมีมิติเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่ทำงาน Coworking space พื้นที่สำหรับประชุมสัมมนาย่อย อะพาร์ตเมนต์ที่มีพื้นที่สำหรับการทำงานส่วนตัวได้ พื้นที่ Co-living อินเทอร์เน็ตที่มีเสถียรภาพและความความเร็วสูง ราคาย่อมเยา ร้านขาย และซ่อมอุปกรณ์ไอที เป็นต้น

  1. ที่พัก (Accommodation) แหล่งท่องเที่ยวควรมีจำนวนที่พักที่เพียงพอ พร้อมทั้งมีความหลากหลายด้านราคาและการบริการที่เหมาะสม และที่พักควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวมากนัก ได้แก่ โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮ้าส์ โฮมสเตย์ ที่พักประเภทต่างๆ มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) ในระดับต่างกันซึ่งจะทำให้มีความแตกต่างด้านราคาและบริการ เช่น ภัตตาคาร สระว่ายน้ำ บาร์ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ซาวน่า บิสซิเนสเซนเตอร์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น

  2. กิจกรรม (Activities) ที่นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมในช่วงเวลาที่พำนักและท่องเที่ยวเพื่อทำให้การท่องเที่ยวและช่วงเวลาพักผ่อนของนักท่องเที่ยวน่าสนใจมากขึ้น กิจกรรมควรมีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวตามประเภทของแหล่งท่องเที่ยว เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลมีกิจกรรมดำน้ำดูประการัง ล่องเรือ การปีนหน้าผา หรือการร่วมกิจกรรมกับชุมชนเจ้าบ้านซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะเป็นประสบการณ์ (Experience) ของนักท่องเที่ยว

    นอกจากนี้ นอกจากกิจกรรมท่องเที่ยวแล้ว Digital Nomad มีความชื่นชอบกิจกรรมที่มีลักษณะงานอดิเรกหรือกิจกรรมยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ งานศิลปะและวาดภาพ เข้าคลาสเรียนโยคะ คลาสวัฒนธรรมท้องถิ่น คลาสพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับงานและไม่เกี่ยวข้องกับงาน

  3. ความสามารถในการใช้จ่าย (Affordability) แหล่งท่องเที่ยวมีราคาที่หลากหลาย และนักท่องเที่ยวสามารถใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง ทั้งในด้านค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าเดินทางและคมนาคม ค่าธรรมเนียมการเข้าชม ค่าบริการอาหารและเครื่องดื่ม หากนักท่องเที่ยวไม่สามารถใช้จ่ายได้เนื่องจากสถานที่แพงเกินไป นักท่องเที่ยวก็จะไปหาแหล่งท่องเที่ยวทดแทนอื่นๆ 

    กลุ่ม Digital Nomad มักมองหาเมืองที่มีค่าครองชีพต่ำ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ Digital Nomad ให้ความนิยมในด้านความคุ้มค่าในการใช้จ่าย

  4. ความเอาใจใส่และเป็นมิตร (Affection) แหล่งท่องเที่ยวมีการดูแลนักท่องเที่ยวเป็นมาตรฐานทั้งในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว การบริการที่เข้าใจลูกค้า ความเอาใจใส่ในรายละเอียดของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการต่างกัน เช่น นักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวผู้สูงอายุต้องการที่พักที่มีการดูแลทางสุขภาพ หรือในกรณี Digital Nomad มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานทางไกล มีการสร้างคอมมูนิตีที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสิ่งแวดล้อมของเมือง เช่น ผู้คนท้องถิ่นที่เปิดรับนักท่องเที่ยวและต้อนรับกับวัฒนธรรมที่แตกต่างของชาวต่างชาติ

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการเตรียมความพร้อมในด้านท่องเที่ยวสำหรับ Digital Nomad ควรมีการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี การสื่อสารและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างๆ เพื่อให้นักเดินทางดิจิตอลสามารถทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังควรมีการสร้างสถานที่ทำงานร่วมสำหรับ Digital Nomad เพื่อเป็นที่พักผ่อนและทำงานในเวลาเดียวกัน โดยมีการพัฒนาพื้นที่สำหรับทำงานในสถานที่ท่องเที่ยวเช่นโรงแรม รีสอร์ท หรืออพาร์ทเมนต์ เพื่อให้นักเดินทางดิจิตอลสามารถเลือกสถานที่ที่ต้องการทำงานได้อย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องมาจองพื้นที่ทำงานเฉพาะและเสียเวลาในการเดินทางครับ

บทความโดย

ดร.พิสิทธิ์  พิพัฒน์โภคากุล

IMPRESSION GROUP

IMPRESSION GROUP

Call Center – TEL.081-988-9979

TRAINING – TEL. 02-9217921 , 085-502-7921 , 090-952-0441

CONSULT / SURVEY / AUDIT – TEL. 081-104-8424